มิติหุ้น – นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director, Financial Advisory Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้รับความสนใจมากนักจากนักลงทุน เนื่องจากให้ผลตอบแทนไม่มากเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยประคับประคองพอร์ตการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยหรือในช่วงที่มีวิกฤต อย่างไรก็ดี ในปีนี้ Bonds are Back เป็นธีมการลงทุนที่นักลงทุนควรหันมาให้ความสนใจ จากการที่ธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก อย่าง Fed มีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วและแรงเพื่อรับมือเงินเฟ้อ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ปรับตัวขึ้นแรงตามทั้งสหรัฐฯ และไทย ทั้งนี้ KBank Private Banking คาดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะสิ้นสุดในปีนี้ ดังนั้นโอกาสที่ดอกเบี้ยในตลาดจะทรงตัวหรือปรับตัวลงมีมากกว่าที่จะปรับเพิ่มขึ้นต่อ ความเสี่ยงจากประเด็นด้านดอกเบี้ยสำหรับตราสารหนี้ก็จะลดลง
ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าตลาดตราสารหนี้เริ่มฟื้นตัวขึ้นและมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ หลังเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายและเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มส่อแววชะลอตัวลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีปรับลงในเดือนมีนาคมกว่า 1% จากระดับสูงสุดที่ 5.07% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบกว่า 12 ปีเลยทีเดียว ส่วนทิศทางตลาดตราสารหนี้ในปี 2566 มีโอกาสปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed หลังจากนี้มีทิศทางที่จะชะลอความเร็วลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ปัจจุบันอยู่ที่ 4.75–5.00%
ดังนั้น KBank Private Banking จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้โดย 1) ควรกระจายการลงทุนตราสารหนี้ที่หลากหลาย ทั้งพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นที่ใกล้จะสิ้นสุด เช่น กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง โกลบอล สมาร์ท บอนด์ (TTB–ES–GSBOND) 2) แนะนำเพิ่มการลงทุนใน Contingent Convertible Bond (CoCos Bond) หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ที่มีโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี หลังสถานะการเงินในภาคธนาคารแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าในช่วงปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เช่น กองทุนกองทุนเปิด ยูไนเต็ด แพลตินัม อินคัม ออพพอร์ทูนิตี้ส์ พลัส ฟันด์ (UPINCM–N)
กองทุน
|
กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง โกลบอล สมาร์ท บอนด์ (TTB–ES–GSBOND)
|
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด แพลตินัม อินคัม ออพพอร์ทูนิตี้ส์ พลัส ฟันด์ (UPINCM–N)
|
กองทุนหลัก | JP Morgan Income Fund | PIMCO GIS Capital Securities Fund และ Jupiter Financials Contingent Capital Fund |
นโยบายลงทุน | ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ประเภทสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน | เน้นลงทุนในตราสารประเภท Contingent Convertible (CoCos) ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทประกัน |
ภูมิภาคที่ลงทุน | เน้นสหรัฐฯ เป็นหลัก | เน้นยุโรปเป็นหลัก |
โอกาส | ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่สูงกว่าไทย และกองทุนมีความคล่องตัวสูงสามารถปรับอายุตราสารเฉลี่ยได้รวดเร็ว ทันสถานการณ์ | ผลตอบแทนที่ปรับเพิ่มขึ้นจากความกังวลของตลาด
ในขณะที่สถานะการเงินของภาคธนาคารขนาดใหญ่แข็งแกร่งขึ้นมากและมีการกระจายลงทุนใน 2 กองหลักและตราสารหนี้ในประเทศเพื่อลดความเสี่ยง |
ความเสี่ยง | เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยมากกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นกระทบตราสารภาคเอกชน (High Yield) | ความคลุมเครือในประเด็น AT1 ของธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์อาจเป็นประเด็นต่อเนื่องสู่ธนาคารอื่นในยุโรป |
ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี (%) | – 0.76% | –2.28% |
ความผันผวน
นับตั้งแต่ต้นปี (%) |
3.97% | 5.28% |
ผลขาดทุนสูงสุด
นับตั้งแต่ต้นปี (%) |
–3.20% | –5.54% |
ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2566
“KBank Private Banking เห็นความท้าทายในตลาดการลงทุนระยะข้างหน้าจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ ด้วยเหตุผลว่า 1) วัฎจักรของดอกเบี้ยใกล้สิ้นสุดลงแล้ว และยังไม่เห็นท่าทีว่าจะมีการลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวขึ้นสูงช่วยปกป้องให้ภาพรวมของผลตอบแทนไม่ติดลบมากนัก 2) เศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวหรือถดถอยเพียงเล็กน้อย ภาคธุรกิจยังมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 3) ส่วนต่างของดอกเบี้ยที่ต่างกันถือเป็นโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ ที่สำคัญคือตราสารหนี้เป็นตัวช่วยกระจายความเสี่ยงที่ดี จึงแนะนำการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภททั่วโลกที่ผ่านการคัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะคอยดูแลปรับพอร์ตเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ พร้อมกับสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว” นางสาวศิริพร กล่าวปิดท้าย
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon