มิติหุ้น – เราคาดว่ากลุ่มธนาคารไทยภายใต้การวิเคราะห์ของเราทั้ง 7 แห่งจะรายงานกำไรสุทธิ 1Q23F รวม 5.29 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +6% YoY และ +37% QoQ ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากไตรมาสก่อน ได้รับแรงหนุนจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง โดยเฉพาะ KBANK และ KKP ที่มีการตั้งสำรองฯ ที่สูงกว่าปกติในช่วง 4Q22 ในขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิน่าจะยังคงแข็งแกร่งอยู่จากการขยายตัวของส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) หลัง BOT ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งๆ ละ +25 bps ในช่วงไตรมาส 1/2023
หากผลประกอบการหุ้นกลุ่มแบงก์ออกมาดีตามที่เราคาดไว้ คาดจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อเก็งกำไรงบต่อเนื่องในช่วง 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่ตลาดหุ้นไทยหลังสงกรานต์มักกลับมาคึกคักทั้งในแง่ระดับราคาและมูลค่าการซื้อขาย จากการศึกษาความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังสงกรานต์นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา SET Index มีโอกาสสูงถึง 82% ที่จะปรับตัวขึ้น และให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย +1.9% โดยกลุ่มที่มีโอกาสสูงในการปรับตัวขึ้นและให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ยดีกว่าตลาด คือ IMM (โอกาสปรับตัวขึ้นสูงถึง 88%, ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย +3.4%), ENERG (88%, +2.9%), mai (88%, +2.7%), PETRO (82%, +3.3%), CONMAT (76%, +3.1%), HOME (76%, +2.5%) และ AGRI (76%, +2.0%) ตามลำดับ
ด้วยช่วงนี้มีผลกระทบเชิงลบต่อ SET Index จากการขึ้นเครื่องหมาย XD (-6.3 จุดสำหรับครึ่งหลังเดือน เม.ย. และ -5.4 จุดสำหรับครึ่งแรกเดือน พ.ค.) และความผันผวนสูงของราคาหุ้น DELTA ทำให้ภาพตลาดหุ้นไทยช่วงนี้บิดเบือน ดังนั้น การเทรดดิ้ง-เก็งกำไรระยะสั้นในช่วงนี้ เราจึงให้ความสำคัญการลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวมากกว่าระดับ SET Index
ถึงแม้เรามองตลาดหุ้นไทยช่วง 1-2 เดือนนี้ยังอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หลังปัญหาภาคธนาคารในต่างประเทศคลี่คลาย, โมเมนตัมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดหวังผลกระทบเชิงบวกจากการเลือกตั้งภายในประเทศ แต่ควรหาจังหวะ “ขายทำกำไร” ในช่วงราคาหุ้นปรับขึ้น-ถือเงินสดเพิ่มขึ้น จากมุมมองการลงทุนที่“ระมัดระวัง” ในช่วงครึ่งปีหลัง หลัก ๆ จาก (1) ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย อิงจาก Jefferies ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของเรายังคงคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่หดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง และแย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้ (2) ห่วงการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าจะกระทบต่อการพิจารณางบประมาณปี FY2024 คล้ายการเลือกตั้งในปี 2019 ที่ทำให้งบประมาณมีความล่าช้าถึง 5 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลให้ SET Index ตอบสนองเชิงลบด้วยการปรับตัวลงเฉลี่ย -1.9% ต่อเดือน (ตัดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในเดือน ก.พ. 2020 แล้ว)
สำหรับธีมหุ้นเด่นหลังสงกรานต์ เรามองไปที่ (1) การประกาศผลประกอบการจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้นสำคัญในช่วง 1 เดือนข้างหน้า หุ้นที่คาดเบื้องต้น 1Q23F มีกำไรเติบโต YoY และ QoQ แนะนำ AOT, AU, BBL, BEM, CENTEL, CPALL, MAJOR, PYLON, SAPPE, SEAFCO, SICT, SISB, SNNP, SPA / เติบโต YoY แนะนำ CPN, CRC, ERW, MINT, STEC, WHA (2) หุ้นอิงการบริโภคภายในประเทศและเชื่อมโยงสถิติในช่วงการเลือกตั้ง ADVANC, CPALL, MAKRO, MINT, SC, SCB (3) หุ้นมีสตอรี่เฉพาะตัวและมักปรับขึ้นหลังสงกรานต์ ENERG – PTT, PTTEP, PTG / mai – AU, D / CONMAT – TOA (4) หุ้นเบื้องต้นคาดเข้า SET50 ครึ่งปีหลัง TLI, WHA (ออก JMART, TIDLOR)
ติดตามผลประกอบการกลุ่มแบงก์ ปัจจัยผันแปรต่อแรงซื้อเก็งกำไรงบระยะสั้น
เราคาดว่ากลุ่มธนาคารไทยภายใต้การวิเคราะห์ของเราทั้ง 7 แห่งจะรายงานกำไรสุทธิ 1Q23F รวม 5.29 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +6% YoY และ +37% QoQ ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากไตรมาสก่อน ได้รับแรงหนุนจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง (-16% QoQ) โดยเฉพาะ KBANK และ KKP ที่มีการตั้งสำรองฯ ที่สูงกว่าปกติในช่วง 4Q22 ในขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิน่าจะยังคงแข็งแกร่งอยู่จากการขยายตัวของส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) หลัง BOT ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง ๆ ละ +25 bps ในช่วงไตรมาส 1/2023 ขณะที่การขยายตัวสินเชื่อโดยรวมยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า (-0.5% QoQ และ +0.9% YoY)
เรายังคงแนะนำ “เพิ่มน้ำหนัก” การลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ โดยเลือก BBL และ KBANK เป็นหุ้นเชิงกลยุทธ์ระยะสั้นสำหรับการเก็งกำไรงบไตรมาสนี้ โดย BBL คาดว่าจะมีกำไร 1Q23F โดดเด่นทั้ง YoY และ QoQ ซึ่งเรามีสมมติฐานค่อนข้างเข้มงวดกว่าแนวทางที่ธนาคารให้ไว้ ดังนั้นหากผลประกอบการออกมาตามคาดหรือดีกว่าคาด น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นได้ในระยะสั้น สำหรับ KBANK ยังมีความกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์หลังจากที่การตั้งสำรองฯ ของธนาคารพุ่งขึ้นในไตรมาสก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากธนาคารลดการตั้งสำรองฯ ลงมาสู่ระดับปกติ คาดจะช่วยผ่อนคลายความกังวลดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ราคาหุ้น KBANK ฟื้นตัวขึ้น หลังราคาหุ้น KBANK นับตั้งแต่ต้นปีนี้ (YTD) ปรับตัวลดลงมากกว่า -10% vs SETBANK -3% นอกจากนี้ หากผลประกอบการหุ้นกลุ่มแบงก์ออกมาดีตามที่เราคาดไว้ คาดจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อเก็งกำไรงบต่อเนื่องในช่วง 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า
หุ้นไทยหลังสงกรานต์มักกลับมาคึกคัก! ทั้งในแง่ระดับราคาและมูลค่าการซื้อขาย
หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยซื้อขายเงียบเหงา (มาก) ในช่วงครึ่งเดือนแรก เม.ย. โดยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.1 หมื่นล้านบาทต่อวัน ลดลงต่อเนื่องจากเดือน มี.ค. และไตรมาส 1/2023 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท และ 6.3 หมื่นล้านบาทตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากในช่วงครึ่งแรกเดือนแรก เม.ย. เป็นช่วงที่มีวันหยุดต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งเดือนหลัง เราคาดนักลงทุนจะกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงหยุดยาว ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยหลังสงกรานต์มักกลับมาคึกคักขึ้นทั้งในแง่ระดับราคาและมูลค่าการซื้อขาย จากการศึกษาความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังสงกรานต์นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา SET Index มีโอกาสสูงถึง 82% ที่จะปรับตัวขึ้น และให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย +1.9% โดยกลุ่มที่มีโอกาสสูงในการปรับตัวขึ้นและให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ยดีกว่าตลาด คือ IMM (โอกาสปรับตัวขึ้นสูงถึง 88%, ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย +3.4%), ENERG (88%, +2.9%), mai (88%, +2.7%), PETRO (82%, +3.3%), CONMAT (76%, +3.1%), HOME (76%, +2.5%) และ AGRI (76%, +2.0%) ตามลำดับ
การลงทุนช่วงนี้เน้นให้ความสำคัญหุ้นเป็นรายตัวมากกว่าระดับ SET Index
ความผันผวนของราคาหุ้น DELTA กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากได้รับคัดเลือกเข้า SET50 Index ตั้งแต่ต้นปีนี้ (ทำให้บรรดากองทุนประเภท “Passive Fund” ที่อ้างอิงผลตอบแทนตาม SET50 Index ต้องเข้าลงทุนแม้พิจารณาในเชิงของปัจจัยพื้นฐาน ราคาหุ้นจะอยู่ในระดับสูงมากก็ตาม) และราคาหุ้นร้อนแรงพุ่งทะลุระดับ 1,000 บาทสูงสุดเป็นประวัติการณ์จนถูกมาตรการกำกับการซื้อขาย (Trading Alert) ระดับ 1 ตั้งแต่วันที่ 3-21 เม.ย. ทั้งนี้การขึ้น-ลงของหุ้น DELTA ทุก ๆ 10 บาท หรือประมาณ 1% จะมีผลต่อ SET Index ประมาณ 1 จุด ซึ่งตั้งแต่ต้นปีนี้ การขึ้น-ลงของราคาหุ้น DELTA มีผลต่อการขึ้น-ลงของ SET Index ในแต่ละวันโดยเฉลี่ยประมาณ 50% โดยเฉพาะในระยะหลัง ๆ ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผลต่อการขึ้น-ลงของ SET Index ในแต่ละวันสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยเกือบ 90% เลยทีเดียว ทำให้ทิศทางตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ถูกบิดเบือนจากหุ้น DELTA ค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ในช่วงหลังสงกรานต์ต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนหน้า SET Index จะมีผลกระทบจากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งด้วย (-6.3 จุดสำหรับครึ่งหลังเดือน เม.ย. และ -5.4 จุดสำหรับครึ่งแรกเดือน พ.ค.) ดังนั้น การเทรดดิ้ง-เก็งกำไรระยะสั้นในช่วงนี้ เราจึงให้ความสำคัญการลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวมากกว่าระดับ SET Index
ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยยังเป็นปัจจัยเฝ้าระวังในช่วงครึ่งปีหลัง
ในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ ถึงแม้ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ออกมาชะลอตัวมากกว่าตลาดคาด ทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ แต่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังสูงกว่าเป้าหมายธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อย่างมาก (Core CPI อยู่ที่ 5.6% ในเดือน มี.ค. และ Core PCE อยู่ที่ 4.6% ในเดือน ก.พ. vs คาดการณ์ Core PCE ของ FED ที่อยู่ที่ 3.3% ณ สิ้นปีนี้) และตลาดแรงงานยังตึงตัวอยู่ (อัตราว่างงานสหรัฐฯ ลดลง -0.1 ppt จากเดือนก่อนหน้า มาที่ 3.5% ในเดือน มี.ค. vs คาดการณ์ FED ที่ 4.5% ณ สิ้นปีนี้) ทำให้คาดว่า FED จะยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและค้างในระดับสูงตลอดทั้งปีนี้ เพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยในช่วงครึ่งปีหลัง สอดคล้องกับความเห็นของประธาน FED หลายสาขา รวมทั้งนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะกรรมการ FED ระบุการขึ้นดอกเบี้ยต่อเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกดเงินเฟ้อลงสู่เป้าหมาย พร้อมเตือนนักลงทุนไม่ควรคาดหวังว่า FED จะลดดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ (vs FedWatch Tool ที่บ่งชี้ว่าตลาดมอง FED จะลดดอกเบี้ยลง 50 bps ในช่วงปลายปีนี้)
ล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 2.8% และ 3.0% ในปี 2023-24F ตามลำดับ ซึ่งปรับลดลงเล็กน้อย -0.1% เมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อนเดือน ม.ค. ที่คาดไว้ที่ 2.9% และ 3.1% ตามลำดับ หลัก ๆ เนื่องจาก IMF มองว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงได้ช้า ทำให้มีความจำเป็นที่ธนาคารกลางสำคัญต้องดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดกว่าที่มองไว้ โดย IMF ได้ปรับประมาณการเงินเฟ้อโลกทั้งในปีนี้และปีหน้าเพิ่มขึ้นจากเดิม +0.4% และ +0.6% ในปี 2023-24F เป็นขยายตัว 7.0% และ 4.9% ตามลำดับ เทียบกับที่อยู่ที่ 8.7% ในปี 2022 นอกจากนี้ ทาง IMF มองว่าประมาณการเศรษฐกิจมีความเสี่ยงโน้มไปทางด้านต่ำมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาของภาคการเงินที่เกิดขึ้น โดยในกรณีเลวร้าย (severe downside scenario) ที่เกิดปัญหาภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะสินเชื่อและการกู้ยืม รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุน จะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้เพียงราว 1% ซึ่ง IMF มองว่ามีโอกาสเกิดขึ้นในกรณีนี้ราว 15%
แนะเลือกลงทุน (Selective Buy) ใน 4 ธีมหุ้นเด่นหลังสงกรานต์
ถึงแม้เรามองตลาดหุ้นไทยช่วง 1-2 เดือนนี้ยังอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หลังปัญหาภาคธนาคารในต่างประเทศคลี่คลาย, โมเมนตัมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดหวังผลกระทบเชิงบวกจากการเลือกตั้งภายในประเทศ แต่ควรหาจังหวะ “ขายทำกำไร” ในช่วงราคาหุ้นปรับขึ้น-ถือเงินสดเพิ่มขึ้น จากมุมมองการลงทุนที่ “ระมัดระวัง” ในช่วงครึ่งปีหลัง หลัก ๆ จาก (1) ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย อิงจาก Jefferies ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของเรายังคงคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่หดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง และแย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้ (2) ห่วงการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าจะกระทบต่อการพิจารณางบประมาณปี FY2024 คล้ายการเลือกตั้งในปี 2019 ที่ทำให้งบประมาณมีความล่าช้าถึง 5 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลให้ SET Index ตอบสนองเชิงลบด้วยการปรับตัวลงเฉลี่ย -1.9% ต่อเดือน (ตัดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในเดือน ก.พ. 2020 แล้ว)
สำหรับธีมหุ้นเด่นหลังสงกรานต์ เรามองไปที่ (1) การประกาศผลประกอบการจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้นสำคัญในช่วง 1 เดือนข้างหน้า หุ้นที่คาดเบื้องต้น 1Q23F มีกำไรเติบโต YoY และ QoQ แนะนำ AOT, AU, BBL, BEM, CENTEL, CPALL, MAJOR, PYLON, SAPPE, SEAFCO, SICT, SISB, SNNP, SPA / เติบโต YoY แนะนำ CPN, CRC, ERW, MINT, STEC, WHA (2) หุ้นอิงการบริโภคภายในประเทศและเชื่อมโยงสถิติในช่วงการเลือกตั้ง ADVANC, CPALL, MAKRO, MINT, SC, SCB (3) หุ้นมีสตอรี่เฉพาะตัวและมักปรับขึ้นหลังสงกรานต์ ENERG – PTT, PTTEP, PTG / mai – AU, D / CONMAT – TOA (4) หุ้นเบื้องต้นคาดเข้า SET50 ครึ่งปีหลัง TLI, WHA (ออก JMART, TIDLOR)
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon