มิติหุ้น – นายจิระวัฒน์ กล่าวว่า “เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหาการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนหลายชั้น (Multilayer Plastic) ซึ่งยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เราจึงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการคัดแยกขยะและทางออกของการนำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือกระบวนการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ ซึ่งเป็นการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวก และรายได้ให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยังมุ่งมั่นในการผลักดันการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วของภาคประชาชนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มาก ที่สุดเพราะเราเชื่อว่าพลังของความมุ่งมั่นและการทำงานร่วมกันจะเป็นแรงขับเคลื่อนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้”
เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการ “Journey to Zero Waste” ภายใต้วิสัยทัศน์ pep+ (PepsiCo Positive) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรและสร้างคุณค่าให้กับผู้คนและสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างแรงบันดาลใจเชิงบวก ขณะเดียวกัน ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดการปัญหาบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลังจากบริโภคอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้น ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 พร้อมร่วมมือกับวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ หนึ่งในชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการจัดการขยะ เพื่อทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนในการรวบรวมบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนหลายชั้นใช้แล้ว (Multilayer plastic packaging – MLP) เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า (Upcycling) ก่อนนำไปปรับปรุงและสร้างประโยชน์สำหรับชุมชนภายใต้ความร่วมมือร่วมกัน และได้มีการทำงานร่วมกับ 25 ชุมชนใน 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นครปฐม กาญจนบุรี และอยุธยา
ในการนี้ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ได้นำเอาโครงการ Journey to Zero Waste เข้าไปให้ความรู้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกับผู้ที่เข้าร่วมงาน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมงานมีการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่การเก็บกลับ คัดแยก ทำความสะอาด และแปรรูปบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้มีมูลค่าเพิ่ม เช่น การนำขวดน้ำพลาสติก PET ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (circular economy) โดยการนำกลับมาทำเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) หรือนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นสิ่งทอ การเปลี่ยนถุงบรรจุภัณฑ์ MLP เป็นเก้าอี้และโต๊ะ เพื่อนำไปมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนในชุมชนเกษตรกรในภาคเหนือ และโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการศึกษา ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon