มิติหุ้น – สำนักงาน กสทช. และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้มีการศึกษาแนวทาง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในระบบนิเวศโลกเสมือนจริง (Metaverse Ecosystem)” สะท้อนทิศทาง นโยบาย และวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม รองรับการพัฒนาระบบนิเวศโลกเสมือนจริงของประเทศไทยที่จะนำ Metaverse มาใช้ประโยชน์สาธารณะต่างๆ มากขึ้น อาทิ ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุข ฯลฯ
.
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช. เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลกได้พัฒนาเทคโนโลยี Metaverse รุดหน้าอย่างต่อเนื่อง หากประเทศไทยขับเคลื่อนเรื่องนี้ล่าช้าอาจเสียโอกาสและความสามารถพัฒนาด้านต่างๆ กสทช.จึงศึกษาแนวทางและเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เหมาะสมรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต
.
สำนักงาน กสทช. มีการตั้ง “คณะทำงานจัดทำข้อเสนอแนะการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในระบบนิเวศโลกเสมือนจริง” ภายใต้ความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เดินหน้านำร่อง 2 โครงการในปี 2566 ได้แก่ การเรียนการสอนด้านกายวิภาคศาสตร์ (Metaverse in Clinical Anatomy) ร่วมกับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ พัฒนาระบบ XR for Clinical Anatomy สร้างแพลทฟอร์มห้องเรียนเสมือนจริงที่นักศึกษาใช้ประโยชน์และทดลองโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทางกายภาพ เวลา และอุปกรณ์ (Anywhere Anytime Any device) นำเทคโนโลยี XR Rending with 5G and Cloud มาใช้ ช่วยปรับปรุงเนื้อหาและภาพแบบ 3 มิติได้อย่างรวดเร็ว
.
โครงการที่สอง คือ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Virtual Reality for Palliative Care) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลแบบประคับประคอง นำเทคโนโลยี VR มาดูแลและเยียวยาด้านจิตใจ (Spiritual Care) ทดลองใช้ VR Headset ให้กับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายที่ต้องการดูภาพสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ๆต้องการไป กสทช.ได้ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สร้างสรรค์สื่อธรรมะ VR 360 นำมาใช้เพื่อช่วยให้คนไข้ ใจสงบ มีสมาธิ ลดความเจ็บปวด วิตกกังวลและความเครียด โดยเฉพาะคลื่นสมอง (Brain Wave) ในช่วงอัลฟา (Alpha Wave) ที่สร้างความสุขบรรเทาความวุ่นวายในสมอง
.
ในภาพรวมแล้วผลการศึกษาของคณะทำงานฯ พบว่า ปริมาณคลื่นความถี่ปัจจุบันรองรับ Metaverse ได้ แต่ถ้าเกิดกรณีปริมาณผู้ใช้หนาแน่นอยู่ในบริเวณเดียวกัน รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยี Metaverse มีปริมาณรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปริมาณคลื่นความถี่ที่มีในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ จึงต้องส่งเสริมนโยบายให้สามารถใช้คลื่นความถี่สำหรับบรอดแบนด์เพิ่มมากขึ้น เช่น การเพิ่มคลื่นความถี่ใหม่สำหรับ Wi-Fi6E/Wi-Fi7 หรือ 5G/6G และสนับสนุนอุปกรณ์ที่เข้าถึง Metaverse ที่ทันสมัยใช้กับคลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ทั้งนี้ กสทช. ได้เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ เช่น ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ 5.925-6.425 GHz หรือย่าน Lower 6 GHz ที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป หรือการใช้งานแบบ unlicensed เพิ่มเติมคลื่นความถี่ย่าน 2.4 GHz และ 5GHz ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของการใช้งานในปัจจุบัน อาทิ Wi-Fi และอุปกรณ์สื่อสารระยะสั้นต่างๆ และยังสามารถรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต เช่น Wi-Fi7 เป็นต้น สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และการเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT) ในอนาคต รวมถึง user case ใหม่ๆที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ VR AR และ XR เพิ่มโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ควรส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีทั้งระบบ จะพลิกโฉมหน้าประเทศไทยได้ในอนาคต
.
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช. เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลกได้พัฒนาเทคโนโลยี Metaverse รุดหน้าอย่างต่อเนื่อง หากประเทศไทยขับเคลื่อนเรื่องนี้ล่าช้าอาจเสียโอกาสและความสามารถพัฒนาด้านต่างๆ กสทช.จึงศึกษาแนวทางและเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เหมาะสมรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต
.
สำนักงาน กสทช. มีการตั้ง “คณะทำงานจัดทำข้อเสนอแนะการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในระบบนิเวศโลกเสมือนจริง” ภายใต้ความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เดินหน้านำร่อง 2 โครงการในปี 2566 ได้แก่ การเรียนการสอนด้านกายวิภาคศาสตร์ (Metaverse in Clinical Anatomy) ร่วมกับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ พัฒนาระบบ XR for Clinical Anatomy สร้างแพลทฟอร์มห้องเรียนเสมือนจริงที่นักศึกษาใช้ประโยชน์และทดลองโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทางกายภาพ เวลา และอุปกรณ์ (Anywhere Anytime Any device) นำเทคโนโลยี XR Rending with 5G and Cloud มาใช้ ช่วยปรับปรุงเนื้อหาและภาพแบบ 3 มิติได้อย่างรวดเร็ว
.
โครงการที่สอง คือ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Virtual Reality for Palliative Care) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลแบบประคับประคอง นำเทคโนโลยี VR มาดูแลและเยียวยาด้านจิตใจ (Spiritual Care) ทดลองใช้ VR Headset ให้กับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายที่ต้องการดูภาพสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ๆต้องการไป กสทช.ได้ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สร้างสรรค์สื่อธรรมะ VR 360 นำมาใช้เพื่อช่วยให้คนไข้ ใจสงบ มีสมาธิ ลดความเจ็บปวด วิตกกังวลและความเครียด โดยเฉพาะคลื่นสมอง (Brain Wave) ในช่วงอัลฟา (Alpha Wave) ที่สร้างความสุขบรรเทาความวุ่นวายในสมอง
.
ในภาพรวมแล้วผลการศึกษาของคณะทำงานฯ พบว่า ปริมาณคลื่นความถี่ปัจจุบันรองรับ Metaverse ได้ แต่ถ้าเกิดกรณีปริมาณผู้ใช้หนาแน่นอยู่ในบริเวณเดียวกัน รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยี Metaverse มีปริมาณรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปริมาณคลื่นความถี่ที่มีในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ จึงต้องส่งเสริมนโยบายให้สามารถใช้คลื่นความถี่สำหรับบรอดแบนด์เพิ่มมากขึ้น เช่น การเพิ่มคลื่นความถี่ใหม่สำหรับ Wi-Fi6E/Wi-Fi7 หรือ 5G/6G และสนับสนุนอุปกรณ์ที่เข้าถึง Metaverse ที่ทันสมัยใช้กับคลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ทั้งนี้ กสทช. ได้เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ เช่น ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ 5.925-6.425 GHz หรือย่าน Lower 6 GHz ที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป หรือการใช้งานแบบ unlicensed เพิ่มเติมคลื่นความถี่ย่าน 2.4 GHz และ 5GHz ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของการใช้งานในปัจจุบัน อาทิ Wi-Fi และอุปกรณ์สื่อสารระยะสั้นต่างๆ และยังสามารถรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต เช่น Wi-Fi7 เป็นต้น สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และการเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT) ในอนาคต รวมถึง user case ใหม่ๆที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ VR AR และ XR เพิ่มโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ควรส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีทั้งระบบ จะพลิกโฉมหน้าประเทศไทยได้ในอนาคต
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon