กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้ากำลังการผลิต 440 เมกะวัตต์ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 352 เมกะวัตต์ “แตก” จะกระทบต่อการจ่ายไฟฟ้าให้ไยหรือไม่นั้น
ทางนายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ ในฐานะประธานบอร์ด กฟผ.มั่นใจว่า รัฐบาล สปป.ลาวจะไม่ชะลอการก่อสร้าง และมั่นใจว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.61 และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเดือน ก.พ.62 ได้ตามกำหนด แต่หากชะลอการก่อสร้างออกไป และเกิดความล่าช้าในการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ จะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศไทย เนื่องจากยังมีสำรองไฟฟ้าสูงอยู่
โดยในปี 62 ยังมีโรงไฟฟ้าเข้าระบบ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเงี้ยบ 1 จำนวน 290 เมกะวัตต์ COD ก.พ.62 และไซยะบุรี 1,220 เมกะวัตต์ COD เดือน ต.ค.62 เป็นการการันตีความมั่นคงด้านพลังงาน
แต่คิดกันภายใต้สมมุติฐานว่า หากเขื่อนที่ลาวที่มีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับไทยที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปีหน้าทั้งหมด เกิดชำรุดหรือเกิดแตกขึ้นมาอีก หรือรัฐบาล สปป.ลาวไม่จ่ายไฟฟ้าให้ จะกระทบความมั่นคงไฟฟ้าของไทยหรือไม่ กระทรวงพลังงานได้คิดถึงประเด็นนี้หรือไม่
ไปที่ความเสียหายของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก ยังต้องรอการประเมินมูลค่าเสียหายจากรัฐบาล สปป.ลาว ก่อน แต่เบื้องต้น รมว.พลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว บอกว่า การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ต้องเก็บค่าเสียหายจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่ยังไม่ระบุว่าจะชะลอการก่อสร้างออกไป มีแนวโน้มว่าจะได้ดำเนินการก่อสร้างต่อ เพราะทางรัฐบาลสปป.ลาวถือหุ้นในสัดส่วน 24% เพราะการลงทุนผลิตไฟฟ้าเพื่อขาย เรียกได้ว่าเป็นรายได้หลักให้กับ สปป.ลาว ที่จะนำไปพัฒนาประเทศ
หากเป็นไปตามคาดการณ์ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง หรือ RATCH ก็เบาใจได้ระดับหนึ่ง แต่ในแง่ของการชดเชย ก็ต้องจ่ายตามระเบียบ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่ ต้องมาลุ้นกัน
“บิ๊กเซ็ต”