มิติหุ้น – (1) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
- ณ วันที่ 6 พ.ย. 67 มีกองทุน Thai ESG ทั้งหมด 34 กองทุน เพิ่มจากสิ้นปี 2566 จำนวน 12 กองทุน
โดยเป็นกองทุนที่ขอจัดตั้งใหม่ 9 กองทุน และ 3 กองทุนเป็นกองทุนเดิมที่ขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่ม class Thai ESG (ผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับกองทุน Thai ESG ที่จัดตั้งใหม่)
จำนวนกองทุน Thai ESG ที่ขอจัดตั้งใหม่ 1 ม.ค. – 6 พ.ย. 67 | |
ขอจัดตั้งใหม่ | 9 กองทุน |
ขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่ม class Thai ESG | 3 กองทุน |
ณ สิ้นปี 2566 | ณ 30 ก.ย. 2567 | |
จำนวนกองทุน | 22 | 26 |
NAV (ล้านบาท) | 5,267 | 10,046 |
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) คือ กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความโดดเด่น
ด้านความยั่งยืนหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ออกทรัพย์สินนั้นเป็นภาครัฐหรือกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว
(2) ตราสารหนี้กลุ่มยั่งยืน
ประเภทหลักทรัพย์
หน่วย: ล้านบาท |
2566 | 2567 | 1 ม.ค. – 30 ก.ย. 67 | ||
Q1 | Q2 | Q3 | |||
ตราสารหนี้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) | 47,293 | – | 3,000 | 4,800 | 7,800 |
ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond)** | 4,000 | 1,000 | – | 1,573 | 2,573 |
ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)** | 141,500 | 30,000 | 36,000 | 23,000 | 89,000 |
ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) | 1,000 | – | – | 13,000 | 13,000 |
รวม | 193,793 | 31,000 | 39,000 | 42,373 | 112,373 |
หมายเหตุ : * สำหรับรุ่นที่ออกเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ปรับมูลค่าเทียบเท่าเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครของธนาคารแห่งประเทศไทย (อัตรากลาง) ณ วันออกตราสาร (issue date)
** รวมพันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.
ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้ออกระดมทุนเพื่อเอาเงินไปใช้ในโครงการหรือกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ/หรือการพัฒนาสังคม
ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) หมายถึง ตราสารหนี้ที่มีข้อตกลงและเงื่อนไข
ในการปรับอัตราดอกเบี้ย และ/หรือภาระผูกพันของผู้ออกในการดำเนินการด้านความยั่งยืน โดยอ้างอิงกับความสำเร็จหรือผลการดำเนินงานตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืน
(3) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม (Green Investment Trust : GIT)
- คณะกรรมการ ก.ล.ต. (เมื่อ 1 ส.ค. 67) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักการในการออกหลักเกณฑ์รองรับการจัดตั้งและจัดการ GIT
- เพื่อรองรับและสนับสนุนการลงทุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมภาคป่าไม้หรือการเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ของประเทศ
- เพื่อส่งเสริมธุรกิจ ผู้ลงทุน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นช่องทางการระดมทุนในตลาดทุนแก่ธุรกิจ ทั้งโครงการสิ่งแวดล้อมที่ออกมาใหม่หรือเป็นโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว
- ทั้งนี้ กองทรัสต์ GIT ไม่ได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) หรือเป็นการหลีกเลี่ยง
การปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง - สำหรับทรัพย์สินหลักที่กำหนดให้กองทรัสต์ GIT ลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
(1) กรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าที่ดิน เฉพาะกิจกรรมในภาคป่าไม้และการเกษตร
เพื่อกักเก็บปริมาณคาร์บอนให้เพียงพอตามเงื่อนไขขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และ
(2) สิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของโครงการตาม (1) โดยที่ดินต้องอยู่ในประเทศไทย และอย่างน้อยโครงการทั้งหมดจะต้องขึ้นทะเบียนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) กับ อบก. หรือมาตรฐานคาร์บอนเครดิตสากลอื่นที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon