Pi Daily ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า แคนาดา เม็กซิโก และจีน หุ้นไทยแม้ถูกแต่เผชิญแรงกดดัน ระยะสั้นเน้น Defensive

21

มิติหุ้น – ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปิดลบ 337 จุด (-0.75%) หลังจากทำเนียบขาวเปิดเผยว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯตัดสินใจจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจาก แคนาดา เม็กซิโกและจีน ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดลบ 0.14% นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์อาจหายไปจากการที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าที่จะกดดันเศรษฐกิจโลก

คืนวันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐฯได้รายงานตัวเลขเงินเฟ้อ (PCE) พบว่าอยู่ที่ 2.6%YoY , 0.2%MoM ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 2.8%YoY , 0.2%MoM ทั้ง 2 ค่าเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในช่วงแรกพบว่าตลาดหุ้นสหรัฐได้ปรับขึ้นเพราะรับแรงหนุนจากคลายกังวลปัจจัยด้านดอกเบี้ยสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นพบว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯกลับมาปรับตัวลง เพราะนักลงทุนกังวลกับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน แคนาดา เม็กซิโก โดยปรับขึ้นแคนาดา เม็กซิโก 25% แต่สำหรับสินค้าพลังงานจากแคนาดาเหลือเพียง 10% ส่วนจีนนั้นก็ปรับขึ้นเพียง 10% ข้อมูลล่าสุดแคนาดาได้ตอบโต้ด้วยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 25% ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องดื่มจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้านผู้นำเม็กซิโกระบุว่าปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชญากรรม ผู้อพยพที่ไหลทะลักเข้าสหรัฐฯ ควรจะใช้การเจรจามากกว่าใช้กำแพงภาษี ส่วนจีนนั้นเตรียมยื่นเรื่องฟ้องต่อ WTO สำหรับสหรัฐฯกับจีนนั้นพบว่าสหรัฐฯขาดดุลการค้าราว 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนหรือราว 1.1 ล้านล้านบาทต่อเดือน ข้อมูล ณ ปี 23 พบว่าสหรัฐฯนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี (27%) เครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (19%) ของใช้ทั่วไปและสินค้าอุปโภค (11%) สิ่งทอและเสื้อผ้า (8%)

ดังนั้นการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจะทำให้ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยของสหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้นและมีผลต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯรวมไปถึงการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงจะเห็นว่าทรัมป์ปรับขึ้นภาษีพลังงานจากแคนาดาเพียง 10% สวนทางกับสินค้าอื่นๆที่ปรับถึง 25% ดังนั้นให้ระมัดระวังราคาสินค้าพลังงานอาจถูกกดดันและเป็นลบต่อกลุ่มพลังงานใน SET (PTTEP) ส่วนการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนรอบก่อนพบว่ามีผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯกระทบกับเงินเฟ้อ (เร่งตัวขึ้น) แต่การเร่งขึ้นนั้นก็ถือว่ามิได้มากนักเพราะอยู่ในระดับ 2-3% แต่ท้ายที่สุดในช่วงปี 19 พบว่า FED กลับมาลดดอกเบี้ยเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มชะลอลง เท่ากับว่าการทำสงครามการค้าในท้ายที่สุดแล้วอาจไม่มีใครได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้แม้กระทั่งสหรัฐฯเองก็ตาม ส่วนประเทศไทยนั้นช่วงเกิดสงครามการค้าก็พบว่าการส่งออกโดยรวมแย่ลงและกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจส่วนกับตลาดหุ้นนั้นพบว่าในปี 18 ตลาดหุ้นไทยปรับลง 10% แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปี 18 พบว่า Valuation SET ค่อนข้างสูงซื้อขายราว 17-18x PE ต่างกับปัจจุบันที่ซื้อขายเพียง 13.5x PE โดยช่วงเวลาดังกล่าวพบ Sector ที่ Outperform สุดได้แก่ การแพทย์ , REIT โดยนิคมอุตสาหกรรมจะเป็นผู้ได้ประโยชน์เชิงจิตวิทยาจากการย้ายฐานผลิต (AMATA WHA) สัปดาห์นี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1280 – 1330 ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนนักลงทุนระยะกลางถึงยาวยังมองเป็นโอกาสสะสมจาก Valuation ที่ไม่แพง แต่เน้นที่หุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรม อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC HMPRO) ศูนย์การค้า (CPN) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) ส่งออก (ITC TU) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL MINT) โรงพยาบาล (BDMS)

BDMS (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 28.00 บาท)
มองว่ากำไรสุทธิปี 2024-25 จะเติบโตอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท (+10%) และ 1.7 หมื่นล้านบาท (+7% YoY) ตามลำดับ หนุนจาก 1) การเติบโตของโรงพยาบาลต่างจังหวัด 2) การเปิดโรงพยาบาล และขยายจำนวนเตียงกว่า 410 เตียง และ 3) สัดส่วนรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติที่มียอดค่าใช้จ่ายต่อบิลสูงที่มากขึ้น รับอานิสงส์จากการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว

BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 172.00 บาท)
ชอบ BBL ด้วยงบดุลแข็งแกร่ง และ Valuation ที่ไม่แพงซื้อขายที่ 0.5x PBV’25E หากเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว ด้วยผลการดำเนินงานใน 4Q24 ดีกว่าคาด จาก NIM ที่ทรงตัวระดับสูง เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น 3-4% ในปี 2025-26 อย่างไรก็ดี เรามองว่ากำไรยังคงมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวที่ราว 3.3%/3.2% ในปี 2025-26 และคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่ 5.5%-5.6% ในปี 2025-26

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon