KTAM แนะลงทุน PVD ให้ตรงไลฟ์สไตล์ พร้อมแนะลงทุน RMF for PVD ต่อเนื่องเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ที่ลาออก หรือย้ายงาน

7

มิติหุ้น  –  นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในสภาวะปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการเกษียณอายุน้อยลงซึ่งอยู่ในระดับต่ำและกระจุกตัวในวงจำกัด ในขณะเดียวกัน กลับมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น จึงยิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านการเงินให้เพียงพอกับการใช้ชีวิตตลอดอายุขัยมากขึ้น ดังนั้น แหล่งเงินในยามเกษียณที่สำคัญอีกทางก็คือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ซึ่งเป็นเงินลงทุนที่นักลงทุนควรต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจดูแล พร้อมปรับพอร์ตเพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ และควรสร้างวินัยในการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคง

KTAM จึงแนะนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ที่มีทางเลือกแผนการลงทุนที่หลากหลาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความเสี่ยงที่รับได้ของตนเอง โดยแนะนำ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยมั่นคง มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนผ่านกองทุนรวมโดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนให้เลือกลงทุนถึง 16 นโยบาย ภายใต้ 4 กลุ่มนโยบายหลัก ได้แก่ กลุ่มนโยบายตราสารหนี้ กลุ่มนโยบายผสม กลุ่มนโยบายตราสารทุน และกลุ่มนโยบายทางเลือก โดยนโยบายการลงทุนทั้ง 16 นโยบายนี้ มีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย อาทิเช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมแบบผสม กองทุนรวมหุ้น กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  เป็นต้น

และอีกกองทุนที่แนะนำ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง) มีให้เลือก นโยบาย  ประกอบด้วยนโยบายการลงทุนใน (1) ตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน (2) ตราสารหนี้ภาครัฐ-ภาคเอกชน และหุ้น  และ (3) หุ้น (ที่มา: KTAM ข้อมูล ณ วันที่ 17 ม.ค. 68)

(และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง) โดยมีให้เลือก นโยบายตามระดับความเสี่ยงจากน้อยไปมาก ประกอบด้วยนโยบาย (1) ลงทุนตรงในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน ประมาณ 100% (2) ลงทุนตรงในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน 85% และหุ้น 15% และ (3) ลงทุนตรงในหุ้น 100%) กองทุนนี้ไม่เน้นขายจะไม่เอาดีไหม(ที่มา: KTAM ข้อมูล ณ วันที่ 17 ม.ค. 68)

อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนใน PVD เป็นเงินออมระยะยาว ที่สมาชิกจะได้ไว้ใช้ในตอนเกษียณอายุหรือตอนออกจากงาน ดังนั้นการจะเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมนั้น ควรขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ยอมรับได้ในปัจจุบัน รวมถึงการประเมินเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณว่ามีความต้องการใช้เงินต่อเดือนเท่าไร เพื่อประเมินเบื้องต้นได้ว่า ควรจะต้องออมเงินเท่าไร และควรมีผลตอบแทนเท่าใดจึงจะเพียงพอกับเป้าหมายในการลงทุน

นอกจากนี้ นักลงทุนที่ย้ายงาน หรือลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ ยังไม่ต้องการรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่ประสงค์จะคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ก็สามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า “RMF for PVD” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับเงินโอนจาก PVD เพื่อให้สมาชิกกองทุนที่ยังทำงานอยู่แต่นายจ้างยกเลิก PVD หรือสมาชิกกองทุนที่ออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม สามารถลงทุนต่อเนื่องจาก PVD เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้

โดยสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน RMF for PVD ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ซึ่งนอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่ออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว บริษัทฯ ยังนำเสนอกองทุนที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกการลงทุน พร้อมทั้งฟรีค่าธรรมเนียมซื้อ – ขาย และสับเปลี่ยนกองทุนด้วย

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon