วิกฤติการเงินตุรกี เป็นส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจาก นโยบายปกป้องทางการค้า (Protectionism) ของประธนาธิบดีสหรัฐ Donald Trump ที่เปิดศึกการค้าไปทั่วโลก เริ่มจากประเทศจีน, EU 27 ประเทศ, ประเทศในเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิหร่าน ซีเรีย ตุรกี แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เม็กซิโก และ แคนาดา รวมทั้งบราซิล อาร์เจนติน่า เวเนซูเอล่า และละตินอเมริกาทั้งหลาย
สหรัฐทำตัวเป็น Ugly American อย่างแท้จริง
วิกฤติการเงินตุรกี ส่งผลกระทบชัดเจน 4 เรื่อง ดังนี้
1.ทำให้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศ Emerging Market ลดต่ำลง 5-15% ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บราซิล อาร์เจนติน่า แอฟริกาใต้
2.ทำให้เกิดกระแแสเงินทุนไหลออก (Capital Outflow) จากประเทศ Emerging Market กลับไปสู่สหรัฐอีกครั้ง สภาพคล่องฝืดตัวลงมากในประเทศ Emerging Market
3.ทำให้ค่าเงินของประเทศ Emerging Market อ่านตัวลง ตุรกี ลีร่าร่วงลง 50% รัสเซีย Ruble ร่วงลงจาก 60 เป็น 66 Ruble/$ อินเดีย Rupee ร่วงจาก 60 มาเป็น 70 Rupee/$ อินโดนีเซีย Rupiah จาก 13,500 มาเป็น 14,800 Rupiah/$
4.ทำให้ดอกเบี้ยประเทศ Emerging Market มีแนวโน้มสูงขึ้น หลายประเทศจำเป็นต้องยอมปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อป้องกันเงินทุนไหลออก เพื่อให้ค่าเงินสูงขึ้น รวมทั้งทำให้สภาพคล่องในประเทศยังไม่ฝืดเคืองจนเกินไป มิฉะนั้น เงินทุนจะไหลออกหมด อินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ยเป็น 5.5% อาร์เจนติน่าขึ้นดอกเบี้ย 45%
สิ่งที่นักลงทุนจะต้องติดตามตลาดเงิน ตลาดทุนต่อไปอย่างไกล้ชิด ความเสี่ยงจะอยู่ที่
1.อนาคตทางการเมืองของ Donald Trump จะถูกดึงเข้าสู่กระบวนการถอดถอน (Impeachment) ออกจากประธานนาธิบดีสหรัฐหรือไม่?
2.ผลการเลือกตั้ง Mid Term สหรัฐ เดือน พ.ย.61 Republican กับ Democrat จะเป็นอย่างไร?
3.รัฐบาลประยุทธ จะปลดล็อคการเมือง ให้มีเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ก.พ.2562 ได้สำเร็จหรือไม่? จะเดินหน้าต่อเพื่อเป็นนายก และเป็นรัฐบาลต่อหรือไม่ หลังจากยึดอำนาจมานานถึง 5 ปีแล้ว
“พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ”