มิติหุ้น-บมจ.การบินไทย(THAI) โดยนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แจ้งว่า ผลการดำเนินงาน ไตรมาส3/61 ขาดทุน 3,700.60 ลบ. ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส3/60 ที่ขาดทุน 1,824.81 ลบ. และงวด 9 เดือน ขาดทุนสุทธิ 4,036 ลบ. ในขณะที่ปีก่อนขาดทุน 3,853 ลบ.โดยเป็นการขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 4,082 ลบ. ขาดทุนต่อหุ้น 1.87 บาท เปรียบเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนต่อหุ้น 1.78 บาท เนื่อจากค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่ เพิ่มขึ้น 1,117 ลบ.(+40.4 %) เนื่องจากรับมอบเครื่องบินเช่าดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 4 ลำ โดยเป็ยการรับมอบลเครื่องบินแบบโบอิ้ง B787-9 จำนวน 1 ลำ ในไตรมาส4 ของปี 2560 และมอบเครื่องบินแบบแอร์บัส A 350-900 จำนวน 3 ลำ ในไตรมาส1/2561 ถึงแม้ว่าจะส่งเครื่องบินเช่าดำเนินงานแบบแอร์บัส A330-300 จำนวน 2 ลำ ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ค่าเช่าลดลงได้ส่วนหนึ่งก็ตาม
และยังมีค่าซ่อมแซมและซ่อมบํารุงอากาศยานเพิ่มขึ้น 695 ล้านบาท (16.3%) สาเหตุหลักเกิดจากการปรับประมาณการค่าซ่อมใหญ่ของเครื่องยนต์ GE90 สําหรับเครื่องบิน B777-300ER เพิ่มขึ้นตามการใช้งานจริงซึ่งทำให้เครื่องยนต์ถึงกำหนดซ่อมเร็วกว่ากำหนดไว้เดิม ประกอบกับอัตราซ่อมโดยเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 152 ลบ. ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 104 ลบ. โดยมีส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จํากด (มหาชน) ขาดทุน 245 ลบ. สูงกว่าปีก่อน 117 ลบ. ขณะที่ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานยังอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่องโดยไตรมาสนี้อยู่ที่ 7,513 ลบ. ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 7,447 ลบ.
ส่วนแนวโน้มไตรมาส4/2561 ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องแต่อัตราการเติบโตยังต่ำกว่าปี 2560 เนื่องจาก ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน โดยคาดการณ์ราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยในปี 2561 จะอยู่ที่ราว 87.8 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามสายการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะยังคงมีกำไร ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดหาเครื่องบิน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดและการใช้งานจริง ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมภายในไตรมาส 4/256 ต่อไป
ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินไทยในปี2561 มี่นมีแนวดน้มขยายตัวจากปี 2560 จขากการที่ประเทศไทยสามารถปลดะงแดงได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปีก่อน นอกจากนี้ความคืบหน้าโครงการก่อตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา(MRO) เพื่อเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ทันสมัยระดับโลก
www.mitihoon.com