Fed จะปรับท่าทีนโยบายการเงินหรือไม่?

63

ผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดยพรรค Democrat ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา ถึงแม้ว่ากรณีนี้จะทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากระบวนการกำหนดนโยบายในระยะต่อไปอาจจะติดขัด แต่นักลงทุนก็ดูเหมือนจะตอบรับดีกับท่าทีของประธานาธิบดีที่มองว่าในช่วงต่อไปจะต้องทำนโยบายสำหรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งจุดสำคัญจะอยู่ที่นโยบายด้านการดูแลสุขภาพ และการใช้จ่ายเพื่อโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับนโยบายด้านการค้านั้น เราไม่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างน้อยก็จนกว่าจะถึงการประชุม G20 ในปลายเดือนนี้ ซึ่งที่จุดนี้ เราแนะนำให้นักลงทุนจับตาดูท่าทีของพรรค Democrat ต่อ NAFTA 2.0 และแพ็คเกจด้านการคลัง (deadline คือวันที่ 7 ธันวาคม) ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดผันผวนได้ในช่วงสิ้นปีนี้ถึงต้นปีหน้า แต่ตลาดจะกลับมาให้ความสนใจกับแนวโน้มดอกเบี้ยจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัว ถึงแม้สหรัฐฯ จะเป็นเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก แต่สหรัฐเองก็เริ่มแสดงสัญญาณว่าการเติบโตกำลังแผ่วลง โดยเริ่มจากตัวเลขในฝั่งอุปทาน คือดัชนี ISM ของสหรัฐ และ current activity indicator (CAI) ซึ่งชี้ว่าการเติบโตกำลังชะลอตัวลงในไตรมาสต่อๆ ไป (figure 1) สอดคล้องกับ real time GDP ล่าสุดที่ประเมินโดย Atlanta Fed ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแค่ 2.9% QoQ ใน 4Q18 จาก  3.3% ใน 9M18 ทั้งนี้ หนึ่งในข้อกังวลหลักของนักลงทุนก็คือ Fed จะปรับท่าทีนโยบายการเงินตามไปด้วยหรือไม่

จากแรงเทขายหุ้นอย่างหนักในเดือนตุลาคม บวกกับการแข็งค่าของ USD และ yield ของพันธบัตรสหรัฐที่สูงขึ้นมากทำให้สภาวะทางการเงินตึงตัวขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีสหสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสภาวะทางการเงิน ดังนั้น Fed จึงอาจจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเคลื่อนไหวของ FCI ในอีกหกสัปดาห์ข้างหน้า (ก่อนการประชุม FOMC นัดสุดท้ายของปีนี้)

ในขณะเดียวกัน เราไม่คิดว่า  Fed จะเปลี่ยนถ้อยคำ และประมาณการ dot plot แบบทันทีทันใด แต่มองว่าการปรับประมาณการ GDP (ลดลง) น่าจะเพียงพอสำหรับให้ตลาดปรับสถานะการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงได้ ในขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับปานกลางอาจจะไม่ได้เป็นบวกต่อตลาดหุ้น แต่เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปยิ่งเลวร้ายหนักกว่า

ดังนั้น เราจึงมองว่าการที่ Fed ปรับประมาณการ GDP และ PCE inflation นิดหน่อยอาจจะกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นภาวะตลาดได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน Fed คาดว่า GDP ในปี 2561-62 จะโต 3.1%  และ 2.5% ในขณะที่คาดว่า PCE inflation จะอยู่ที่ 2.1% และ 2% ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาด EM เนื่องจากการขยายตัวในระดับปานกลางของเศรษฐกิจสหรัฐจะช่วยจำกัด upside ของดอกเบี้ยสหรัฐ รวมถึงจำกัด upside ของค่าเงินดอลลาร์ด้วย ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคได้

โดย บล.กรุงศรี