ดัชนี SET index สัปดาห์ที่ผ่านมาลงทดสอบบริเวณแนวรับที่เราประเมิน 1600 จุด ซึ่งเราประเมินว่าเป็นทั้งแนวรับจิตวิทยาและแนวรับทางเทคนิคที่สำคัญ ซึ่งอาจมีโอกาสเกิด Technical rebound ได้ที่บริเวณนี้ โดยประเมินแนวต้านสำคัญ 1640 – 1645 จุด หากผ่านแนวต้านดังกล่าวไปได้ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจพิจารณา “Follow buy” แต่ในกรณีเลวร้ายต่ำกว่าแนวรับสำคัญ 1600 จุด เราประเมินจะเกิดแรงขายตัดขาดทุน ซึ่งอาจทำให้ SET index ปรับลงไปสู่แนวรับถัดไปที่ 1580 – 1550 จุดได้เช่นกัน
ประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตามใน 1 – 2 สัปดาห์นี้ แบ่งเป็นปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ
1) ปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ประเด็นการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนเลือกที่จะ Wait&See รอดูความชัดเจน จึงทำให้ตลาดหุ้นไทย Sideway และมีปริมาณซื้อขายที่เบาบาง หากมีความชัดเจนในประเด็นนี้คาดจะทำให้มีแรงเก็งกำไรเข้ามาผลักดันให้ SET index ปรับขึ้นทดสอบแนวต้านที่เราประเมินได้ / สำหรับประเด็นเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจไทย เราประเมินว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนน่าจะฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ หลังตัวเลขส่งออกเดือน ต.ค. ล่าสุดพลิกกลับมาบวกได้ถึง +8.7%
2) ปัจจัยต่างประเทศ มี 2 ประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ แนวทางการเจรจาการค้าสหรัฐฯ และจีนในช่วงประชุมจี-20 ปลายสัปดาห์นี้ และการประชุมกลุ่มโอเปกเรื่องการตัดสินใจลดกำลังการผลิตน้ำมัน ในวันที่ 6 ธ.ค.
สำหรับประเด็นเรื่อง Valuation ของ SET index นั้น เริ่มผ่อนคลายลงบ้างในด้านของ Cyclical Adjusted PE หรือ CAPE หลังดัชนีปรับฐานลงมาที่บริเวณ 1600 จุด (แต่ก็ยังถือว่าดัชนีหุ้นไทย “ไม่ถูก”) และในด้านของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ลดระดับลงมาบ้าง หลังการรายงานตัวเลข GDP ไทย 3Q61 ที่ออกมา ต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดีในด้านของประมาณการ EPS ของ SET index เป็นประเด็นที่เรายังให้น้ำหนักมากสุดในขณะนี้ เนื่องจากแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2562 อาจจะเติบโตในระดับที่ชะลอตัวลง ทั้งจากราคาน้ำมันที่พักฐานในขณะนี้, กลุ่มอสังหาฯที่ยอดขายอาจเริ่มชะลอตัวลงจากมาตรการคุมฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ, กลุ่มท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มชะลอตัวลง ดังนั้นความเสี่ยงด้าน Valuation ยังมีอยู่ เราจึงแนะนำ นักลงทุน เลือกซื้อลงทุนหุ้นเป็นรายตัวที่แนวโน้มผลการดำเนินงานยังดี หรือมี ธีมการลงทุนเฉพาะตัว เช่น กลุ่มรับเหมาฯ (CK, STEC, SEAFCO, PYLON) กลุ่มนิคมฯ (AMATA) กลุ่มค้าปลีก (CPALL) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (KTB) เป็นต้น และยังไม่แนะนำนักลงทุนเสี่ยงเข้าซื้อหุ้นที่ปรับลงแรง และยังมี PE ในระดับที่สูง (Growth stock) เนื่องจากเชื่อว่าการหมุนกลุ่มเล่นของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยรอบนี้ จากหุ้น Growth stock ขนาดกลาง – เล็ก ไปยังหุ้น Value stock อาจจะยังมีต่อเนื่องอักสักระยะ
โดยสุโชติ ถิรวรรณรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย
บล.เคจีไอ(ประเทศไทย)
www.mitihoon.com