7 กรณีเทรด TFEX กับบริการใหม่
“Non – Cash Collateral”
Non-Cash Collateral (NCC) คือ บริการที่นักลงทุนสามารถนำหุ้นที่ตนมีในบัญชีหุ้น *มาช่วยเป็นหลักประกัน (Margin) บัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้* โดยหุ้นที่มาวางเป็นตัวช่วยหลักประกันนั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอำนาจการเปิดสัญญาในตลาด TFEX
สำหรับการเปิดสัญญาเพิ่ม ยังคงต้องใช้เงินสดเป็นหลักประกันเท่านั้น ส่วน Non-Cash Collateral (NCC) มีจุดประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้ใช้หุ้นมาค้ำประกัน เพื่อลดโอกาสในการถูกเรียกหลักประกัน (Call/Force Margin) อย่างไรก็ตาม ระหว่างการถือครองสัญญาอนุพันธ์ Equity Balance (EB) ห้ามติดลบด้วยเช่นกัน**
โดยหลักทรัพย์ที่นำมาวางเป็นหลักประกันได้ จะถูกคิดลดด้วยอัตราค่าความเสี่ยง (Hair Cut Rate)
ตัวอย่าง การคิดลดด้วยอัตราค่าความเสี่ยง (Hair Cut Rate)
หากนาย ข. นำหุ้น PTTEP ที่มีราคาปิดวันทำการก่อนหน้าที่ 100 บาท จำนวน 1,000 มาเป็นหลักประกัน จะมีมูลค่า = 100*1,000 = 100,000 บาท
แต่เนื่องจาก PTTEP มีอัตรา Hair Cut Rate = 21% ดังนั้น นาย ข. จะสามารถนำมาวางเป็นหลักประกันได้ = 100,000-21% = 79,000 บาท
ตัวอย่างหลักการ NCC เพื่อใช้เป็นหลักประกัน
โดยกำหนดตัวอย่างให้
หลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin: IM) = 10,000 บาท
หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin: MM) = 7,000 บาท
ระดับบังคับปิดสัญญา (Force Margin: FM) = 3,000 บาท
กรณี 1 การส่งคำสั่งซื้อขายเพื่อเปิดสถานะ
นักลงทุนนำเงินสดมาวางหลักประกัน (EB) มูลค่า 5,000 บาท
นักลงทุนนำหุ้นมาวางหลักประกัน (NCC) มูลค่า 5,000 บาท
จะไม่สามารถเปิดสัญญาได้ ดังนั้นต้องวางหลักประกันเป็นมูลค่าเงินสด อย่างน้อย 10,000 บาท เพื่อเปิดสถานะ
*Equity Balance: (EB) หลักประกันเทียบเท่าเงินสด หมายถึง หลักประกันเงินสดและรวมถึงกระแสเงินสดจากการปรับเป็นราคาตลาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส
กรณี 2 การถอนเงินหลักประกัน (ถอน EB หรือ Cash)
ตัวอย่าง สมมติ นักลงทุนถือครองสัญญา Futures อยู่ 1 สัญญา IM = 10,000
มีสถานะเงินสดคงเหลือ 12,000 บาท
จะสามารถถอนเงินสดได้ = EB – IM
= 12,000 – 10,000 = 2,000 บาท
นักลงทุนจะสามารถถอนเงินสดได้ 2,000 บาท
กรณี 3 กรณีถอนหุ้นหลักประกัน (ถอน NCC) และ ถอนเงินหลักประกัน (ถอน Cash)
ตัวอย่าง
นักลงทุนนำหุ้นมาวางหลักประกัน (NCC) 11,000 บาท และนำเงินสดวางหลักประกัน (EB) 12,000 บาท
หากในพอร์ตมี 1 สัญญา (วาง Margin = 10,000 บาท)
หากต้องการถอนหุ้น: ออกจากหลักประกัน (ถอน NCC) สามารถถอนได้ทั้งหมด เพราะยังเหลือ Cash 12,000 บาท ซึ่งเพียงพอต่อการวางหลักประกัน ถอนหุ้นได้ทั้งหมด = (EB+NCC) – IM = (12,000+11,000) – 10,000 = 13,000
หากต้องการถอนเงินสด: ออกจากหลักประกัน (ถอน Cash) ถอนได้ (EB-IM) = 12,000 – 10,000 = 2,000
กรณี 4 เกิดผลขาดทุนจากการ Mark to Market (MTM) สถานะเงินสดลดเหลือ 5,000 บาท
หากต้องการถอนหุ้น: (EB+NCC)-IM = (5,000+11,000) – 10,000 = ถอนหุ้นได้มูลค่า 6,000 บาท
หากต้องการถอนเงินสด: EB-IM = 5,000 – 10,000 = -5,000 จะเห็นว่า EB (Cash) มีค่าติดลบ ซึ่งตามการวางหลักประกันและ Call/Force EB (Cash) ห้ามติดลบ กรณีนี้จึงถอนงินสดไม่ได้
ในกรณีนี้ NCC ได้ทำงานช่วยในส่วนการวางหลักประกันแล้ว ไม่ให้โดนเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) เนื่องจากหากนักลงทุนมีเฉพาะเงินสด จะไม่เพียงพอต่อการวางหลักประกัน (หลักประกัน IM = 10,000 บาท และระดับ MM = 7,000 บาท)
กรณี 5 Equity Balance (EB) รวมกับ Non-Cash Collateral (NCC) ไม่เพียงพอต่อหลักประกัน
ตัวอย่าง
เกิดผลขาดทุนจากการ Mark to Market (MTM) ทำให้เหลือเงินสดเป็นหลักประกัน (EB) = 1,000 บาท และมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน (NCC) = 5,000 บาท
EB+NCC รวมแล้ว = 6,000 บาท ซึ่งยังต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin (MM) ที่ระดับ 7,000 บาท ซึ่งทำให้ถูกเรียกหลักประกัน (Margin Call) โดย
เติมเงินสด หรือ NCC ก็ได้ตามเวลา Trigger Call = (EB+NCC) – IM = (1,000+5,000) – 10,000 = -4,000
กรณี 6 เงินสดติดลบ
มูลค่า NCC เพิ่มเป็น 10,000 และเกิดผลขาดทุนจากการ Mark to Market (MTM) ทำให้เงินสดติดลบ แม้ว่าจะไม่ถูกเรียกหลักประกัน (Margin Call) เพิ่ม แต่ต้องเติมเงินสดเพิ่ม เพื่อไม่ให้ระดับเงินในบัญชีเป็นลบ
หากต้องการถอนหุ้น: (EB+NCC) – IM = (–2,000+10,000) – 10,000 = – 2,000 ค่าติดลบ ถอนไม่ได้ ต้องเติมเงินสดอย่างน้อย 2,000 บาท
หากต้องการถอนเงินสด: EB-IM = – 2,000 – 10,000 = – 12,000 ถอนไม่ได้
กรณี 7 เงินสดติดลบและแตะระดับ Call Margin
กรณีที่บัญชีซื้อขายมีทั้ง EB และ NCC ลดลง
มูลค่า NCC ลดเหลือ 6,000 และเกิดผลขาดทุนจากการ Mark to Market ทำให้ Cash ติดลบ 3,000
ในตัวอย่างนี้ EB = -3,000 บาท และ NCC = 6,000 บาท
ทำให้ EB + NCC = -3,000 + 6,000 = 3,000 บาท
และยังขาดหลักประกัน (ต้องเติมเพิ่ม) = (EB + NCC) – IM = (-3,000 + 6,000) – 10,000 = -7,000 บาท
โดยหลักประกันต้องเติมเพิ่มนี้ จะต้องมีเงินสดอย่างน้อย 3,000 บาท ที่เหลืออีก 4,000 จะเป็นเงินสดหรือ NCC ก็ได้ตามเวลา call
เนื่องจาก Cash ติดลบ 3,000 บาท และเนื่องจากเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด (**การฝากเงินสดขั้นต่ำ กรณีเงินสดไม่พียงพอ (EB ติดลบ) กรณีที่หลักประกันในส่วนของเงินสดถูกใช้ไปจนหมด ลูกค้าต้องวางเงินสดเพิ่ม บริษัทฯ กำหนดให้ลูกค้าต้องวางเงินสดไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท**) ให้การเติม Cash อย่างน้อย 5,000 บาท ดังนั้นจึงต้องเติมเงินสดเพิ่มอย่างน้อย 5,000 บาท
ดังนั้น แม้ NCC จะมีส่วนช่วยให้หลักประกันมีโอกาสถูก Call/Force ตามเกณฑ์ยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรรักษาเงินสดในบัญชีให้เป็นบวกอยู่เสมอ และซื้อขายฟิวเจอร์ส์ด้วยความระมัดระวัง รวมถึงใช้วิธีการตัดขาดทุนหากนักลงทุนเทรดรูปแบบ Direction Bet แล้วผิดทาง
หมายเหตุ
* ต้องเป็นหุ้นที่อยู่ใน List ที่บริษัท ฯ ประกาศกำหนด จะสามารถนำมาวางเป็นหลักประกันเสริมได้ โดยหุ้นดังกล่าวที่นักลงทุนมี ต้องอยู่ในการครอบครองของนักลงทุนและปลอดภาระ และหุ้นที่อยู่ในช่วง Silence Period ก็ไม่สามารถวางเป็นหลักประกันได้ โดยสามารถดูหุ้นที่สามารถเป็นหลักประกันได้จาก https://www.fnsyrus.com/th/news (รายละเอียดอาจเปลี่ยนแปลงได้ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูบัญชีของท่านเพิ่มเติม)
** กรณี EB ติดลบน้อยกว่า 5,000 บาท บริษัทขอสงวนสิทธิดำเนินการเรียกหลักประกันเพิ่ม 5,000 บาท และกรณี EB ติดลบมากกว่า 5,000 บาท จะดำเนินการเรียกตามจำนวนจริง
– กรณีที่หุ้นนำมาวางหลักประกันมี Corporate Action, จ่ายเงินปันผล หรือได้สิทธิใด นักลงทุนจะต้องนำหลักทรัพย์อื่นมาเปลี่ยน หากไม่ถอนหุ้นออก บริษัทขอสงวนสิทธิในการดำเนินการตามความเหมาะสม แต่อาจทำให้นักลงทุนเสียสิทธิบางประการ หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่นภาระทางภาษี เป็นต้น
– TCH มีการกำหนดจำนวนหุ้นที่วางได้สูงสุดของนักลงทุนทุกรายจากทุกโบรกเกอร์รวมกัน (Concentration Limit)
สำหรับนักลงทุนที่สนใจใช้บริการ NCC (Non-Cash Collateral) หรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถาม ได้ที่
Website: www.finansiahero.com
Email: tfex-business@fnsyrus.com
Tel. 02-659-4348 – 9